โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease, FMD) (บทความที่ 1)

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน
อาการ
โคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%

การตรวจวินิจฉัย
เนื่องจากวัคซีนแต่ละไทป์ไม่สามารถให้ความคุ้มข้ามไทป์กันเมื่อมีสัตว์ป่วยด้วยโรคปากและเท้าเปื่อย ควรตรวจให้รู้ว่าเป็นไทป์ไหนเพื่อจะได้ฉีดวัคซีนป้องกันไทป์นั้น

การรักษา
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือฟิวราโซลิโดน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)

การควบคุมและป้องกัน
ฉีดวัคซีนโรคเอฟทั้ง 3 ไทป์ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน

วัคซีนวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับโค-กระบือ-แพะ-แกะ ของกรมปศุสัตว์ที่ผลิตโดยสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ 

วิธีการใช้
  1. ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือน
  2. ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3-4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
  3. ในกรณีที่เกดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว
ขนาดฉีด ตัวละ 2 มล. เข้าใต้ผิวหนัง
ความคุ้มโรค สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 3-4 สัปดาห์ และอยู่ได้นาน 6 เดือน
ขนาดบรรจุ ขวดละ 40 มล. (20 โด๊ส)
การเก็บรักษา เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4 - 6 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง

การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ

  วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ
  1.
2.
3.

4.

5.

6.
บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ แผลที่ลิ้น, เยื่อบุภายในช่องปาก, แผลที่กีบ และไรกีบ
ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลที่เยื่อลิ้น และบริเวณปาก โดยใช้ผ้าและภาชนะที่สะอาด
ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่าเชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าแล้วและไม่
สามารถเก็บเยื่อลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน
ขนาดของเนื้อเยื่อควรเก็บเชื้อไม่น้อยกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่งๆได้น้อยก็
ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มด้วย และแยกขวดเป็นตัวๆไป
เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50% กลีเซอรีนบัพเฟอร์ เขย่าให้น้ำท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้
แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมายขวดให้ชัดเจน ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดภายนอกขวดก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการ
การนำส่ง ขวดบรรจุเนื้อเยื่อหรือน้ำเหลืองที่ได้ฆ่าเชื้อภายนอกแล้วให้ใส่ลงในภาชนะอีก 1 ชั้น
เพื่อกันขวดแตกจากนั้นห่อทับด้วยกระดาษหลายๆชั้น หรือห่อด้วยวัสดุอื่นกันขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่าย 
พร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ผู้ป่วย รีบนำส่งทันที หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อน ควรเก็บในตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็ง 
วิธีนำส่งที่ดีที่สุด คือ นำส่งในสภาพแช่เย็น โดยปริมาณน้ำแข็งที่เพียงพอจนถึงห้องปฏิบัติการ 
ในกรณีไม่สามารถนำส่งในสภาพแช่เย็น ก็อาจส่งทางไปรษณีย์โดยทาง EMS
  หมายเหตุ
  1.


2.

3.
4. 

5.


6.
หากพบตุ่มใสที่ลิ้น, อุ้งเท้า, ไรกีบ ของโคและสุกร ซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรคใหม่ๆ หาก
สามารถเก็บน้ำจากตุ่มใส ส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่งควรเก็บก่อนที่ตุ่มใสจะแตก โดยใช้เข็มดูดและเก็บในขวดที่สะอาด 
เก็บในสภาพแช่เย็นและรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
การเก็บเชื้อควรเก็บจากแผลหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่เริ่มแสดงอาการป่วยเป็นโรค เพราะจะมี
ปริมาณไวรัสมากเพียงพอสำหรับการตรวจ
ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเนื้อเยื่อที่จะส่งไปตรวจ เพราะจะทำให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้
ภายหลังการเก็บเชื้อใส่ขวดเรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดภายนอกขวดและอุปกรณ์ต่างๆ 
ตลอดจนมือผู้เก็บเนื้อเยื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อไประบาดที่อื่น
ไม่แนะนำให้ส่งตัวอย่างที่เป็นซีรั่ม เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการจำแนกชนิดไวรัสเพราะวิธีนี้จะมีข้อผิดพลาดได้ 
เนื่องจากการตรวจซีรั่มไม่สามารถบ่งบอกชนิดไวรัสได้ว่าสัตว์กำลังป่วยด้วยไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยไทป์ โอ หรือ เอ หรือ เอเชียวันได้ 
ดังนั้นวิธีที่แม่นยำและถูกต้องที่สุดคือการตรวจวินิจฉัยจากตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ลิ้นหรือกีบของสัตว์ป่วยเท่านั้น
กรณีการส่งซีรั่ม เป็นการตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่มีในสัตว์ที่เคยป่วยหรือสัตว์ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีน 
วิธีนี้จะเป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพของวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาระบาดวิทยา 
การเฝ้าระวังโรค สำหรับการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยเท่านั้น
  การเก็บตัวอย่างซีรั่มที่มีคุณภาพ ต้องปฏิบัติดังนี้
   
  • ไซริ้งและหลอดเก็บเลือดต้องสะอาดและแห้ง
  • เจาะเลือดเสร็จแล้วให้วางหลอดในแนวเอียง เพื่อให้การแยกชั้นของซีรั่มดีขึ้น
  • ควรวางในอุณหภูมิห้อง (room temperature) ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงก่อน ไม่ควรนำเข้าตู้ เย็นทันทีเพราะจะทำให้ซีรั่มไม่แยกชั้น หรือแยกได้น้อย
  • ห้ามปั่นหลอดเลือดในขณะที่ยังไม่ได้ถ่ายซีรั่มออก เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกหรือเกิด hemolysis
  • เมื่อแยกซีรั่มแล้ว ให้เก็บที่อุณหภูมิแช่แข็ง หรือ Freezer - 20C
  การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือวิการที่มีคุณภาพ
   
  • เก็บวิการที่เยื่อลิ้น และที่กีบ ต้องเก็บให้ถูกตำแหน่งหรือบริเวณที่มีไวรัสอยู่
  • เก็บในสภาพที่เริ่มเป็นโรคใหม่ๆ
  • ปริมาณและลักษณะเนื้อเยื่อควรเป็นแผ่นหรือชิ้นใหญ่
  ปัญหาที่พบบ่อย
   
  • การเก็บตัวอย่างล่าช้า ทำให้เก็บได้น้อย หรือเป็นขุย
  • เก็บในระยะที่แผลเริ่มหาย ทำให้ไม่สามารถเก็บได้
  • เก็บไม่ถูกตำแหน่งที่มีไวรัส

หมายเหตุ

  1. บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือตุ่มหนองบริเวณเยื่อลิ้นแผลที่เยื่อลิ้นเยื่อบุภายในช่องปากแผลที่กีบและไรกีบ
  2. ในโค กระบือ ให้เก็บจากแผลเยื่อลิ้นและแผลบริเวณปากโดยใช้ผ้าและภาชนะที่สะอาด
  3. ในสุกร หรือโค กระบือ แพะ แกะ ที่เดินเขยกแสดงว่าเชื้อแพร่กระจายไปถึงเท้าและ ไม่สามารถเก็บเยื่อ ลิ้นได้ ควรเก็บเชื้อจากบริเวณไรกีบ ซอกกีบ หรืออุ้งกีบแทน โดยทำความสะอาดบริเวณนั้น 
    ด้วยน้ำสะอาดก่อนไม่ควรใช้ยาทาแผลทาก่อนเก็บเนื้อเยื่อ
  4. ขนาดของเนื้อเยื่อเก็บเชื้อไม่ควรน้อยกว่า 1 ตารางนิ้ว หรือรวมกันให้ได้มากกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่งๆได้น้อย ก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มเติมด้วยและแยกขวดเป็นตัวๆ ไป
  5. เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา50%กลีเซอรีนบัพเฟอร์เขย่าให้น้ำยาท่วมเนื้อเยื่อปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยารั่วไหล ทำเครื่องหมายขวดให้ชัดเจน
  6. การนำส่งขวดบรรจุเนื้อเยื่อหรือน้ำเหลือง ให้เช็ดทำความสะอาดภายนอกขวดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อจากนั้นห่อทับด้วยกระดาษหลายๆ ชั้น หรือห่อด้วยวัสดุอื่นกันขวดแตกแล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่ายพร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ป่วย รีบนำส่งทันที 
    หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อนควรเก็บในตู้เย็นหรือกระติกน้ำแข็งวิธีนำส่งที่ดีที่สุดคือนำส่งในสภาพ 
    แช่เย็นในกระติกน้ำแข็งโดยมีประมาณน้ำแข็งพอจนถึง ศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อย อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา (http://www.dld.go.th/niah)
    หรือ ศูนย์วิจัยและชันสูตรโรค สัตว์ประจำภาค ในกรณีที่ไม่สามารถนำส่งโรงพยาบาลในสภาพแช่เย็นก็อาจส่งทางไปรษณีย์โดยเร็ว
  7. หากพบตุ่มใสที่ลิ้นอุ้งเท้าไรกีบของโคและสุกรซึ่งมักพบในสัตว์ที่เพิ่งเป็นโรค 
    ใหม่ๆหากสามารถเก็บน้ำจากตุ่มใสส่งไปได้ก็จะเป็นการดียิ่งควรเก็บก่อนที่ตุ่มใสจะแตกโดยใช้ไซริ่งค์ ดูดและเก็บในขวดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วแช่ในกระติกน้ำแข็งแล้วรีบนำส่งศูนย์วิจัยและชันสูตรโรคสัตว์ประจำภาค 
    หรือศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อยโดยเร็วที่สุด
  8. การเก็บตัวอย่างควรเก็บจากแผลหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์ที่เริ่มเป็นโรคเพราะจะมีปริมาณไวรัสในปริมาณมากเพียงพอ สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค
  9. ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเนื้อเยื่อที่จะส่งไปตรวจเพราะจะทำให้ผลการวินิจฉัยผิดพลาดได้
  10. ภายหลังเก็บเชื้อใส่ขวดเรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดภายนอกขวดและอุปกรณ์ต่างๆตลอดจนมือของผู้เก็บเนื้อเยื่อ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อแพร่กระจายไปสู่ที่อื่น
  11. กลีเซอรีนบัพเฟอร์สำหรับเก็บตัวอย่างเบิกได้ที่ศูนย์โรคปากและเท้าเปื่อยอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130
  12. น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยที่ใช้ได้ผล คือ 4% โซเดียมคาร์บอเนตหรือปูนขาวหรือ 0.1 M NaOH (โซดาไฟ หรือน้ำยาไอโอโดฟอร์ (1:200) หรือน้ำยากลูตารัลดีไฮน์0.25% วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อควรแช่น้ำยาอย่างน้อย 15 นาที

Source : โรคที่สำคัญในสัตว์ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

http://niah.dld.go.th/th/AnimalDisease/indexAnimalDisease.html

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease, FMD) (บทความที่ 2)

คำจำกัดความ  (Definition)

โรคปากและเท้าเปื่อย หรือ Foot and Mouth Disease (FMD) เป็นโรคติดต่อแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว (highly contagious) ในสัตว์กีบคู่ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า เกิดจากเชื้อไวรัส อัตราการตายต่ำ แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงและรุนแรง โรคนี้มีลักษณะเฉพาะคือมีไข้สูง มีเม็ดตุ่มเกิดขึ้นที่เยื่อเมือกภายในช่องปากและไรกีบ พบการตายอย่างเฉียบพลันในลูกสัตว์ เนื่องจากหัวใจล้มเหลว

สาเหตุ (Etiology)

เชื้อ FMD เป็น Non-envelop single-stranded RNA Virus อยู่ในจีนัส Apthovirus ซึ่งอยู่ในตระกูลPicornaviridae Spherical nucleocapsids ขนาด 22-30 nm สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ซีโรไทป์ ตามลักษณะของimmunological คือ A, O,  C, Southern African Territories (SAT-1, SAT-2, SAT-3) และ Asia-1 ภายใน 7 ซีโรไทป์นี้ยังแบ่งออกได้มากกว่า 60 Subtypes ตามลักษณะทาง serological methods เช่น A5, A24, O1, C3 เป็นต้น โดยพบว่าซีโรไทป์ A, O และ C พบได้ในยุโรป อเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย ซีโรไทป์ Asia-I สามารถตรวจพบในหลาย ๆ ส่วนของเอเชีย และตะวันออกกลาง  โดย 3 ซีโรไทป์ของ SAT แต่ก่อนพบเฉพาะใน Africa จนในปี 2002  สามารถตรวจพบ SAT 1 ในตะวันออกกลาง

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันพบว่ามี 3 ไทป์ คือ A, O และ Asia-1 ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะเป็นความจำเพาะต่อซีโรไทป์และแม้กระทั่งซับไทป์ที่จำเพาะ (type and subtype-specific) ดังนั้นแต่ละซีโรไทป์จะไม่มี cross immunity ต่อกัน สัตว์ที่หายป่วยจากโรคแต่ละซีโรไทป์ จะมีความคุ้มโรคเฉพาะซีโรไทป์นั้น ๆ ได้นานประมาณ 1-4 ปี

 

ระบาดวิทยา  (Epidemiology)

โรคปากและเท้าเปื่อยได้ถูกรายงานว่าพบในรายประเทศทั่วโลก ภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในAfrica และหลายประเทศในอเมริกาใต้ เช่น โคลัมเบีย เปรู เวเนซูเอล่า โบลิเวีย เอกวาดอร์ และในทางตอนเหนือของบราซิล อาร์เจนตินา ในส่วนทางใต้ของบราซิลและปารากวัย ชิลี ได้ประกาศให้เป็นเขตปลอดโรคนี้ ในยุโรปจะมีการระบาดใน ตุรกี และบางส่วนของกรีซและ ในประเทศแถบยุโรปตะวันออก  มีรายงานการเกิดการระบาดใหญ่ของโรคนี้ครั้งแรกในอังกฤษในปี ค.ศ. 1967 และถัดมาในปี ค.ศ. 2001 ล่าสุดในปี ค.ศ. 2007ในปี ค.ศ. 1996  พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคจะอยู่ในบริเวณแถบเอเชีย แอฟริกา และบางส่วนในทวีปอเมริกาใต้ ใน ค.ศ. 1997 จีนและไต้หวันพบการระบาดใหญ่ ทำให้มีการฆ่าสุกรมากกว่า 4 ล้านตัวในระยะเวลา 2 เดือน โดยสาเหตุของการเกิดโรคคาดว่าจะมาจากผลิตภัณฑ์สัตว์ ที่นำมาโดยเรือหาปลาในประเทศฟิลิปปินส์   ในยุโรปตะวันออกพบมีการระบาดน้อยลงใน 30 ปีที่ผ่านมา

 

แหล่งของเชื้อ (Source of infection)

สามารถพบเชื้อ FMDV ใน esophageal และ pharyngeal fluids ในช่องทางเดินหายใจ (respiratory aerosols) ของสัตว์ที่ติดเชื้อทั้งก่อนและหลังหรือช่วงกำลังแสดงอาการ โดยในโค กระบือ แพะแกะ  จะแพร่เชื้อออกทางลมหายใจ  ในช่วงแสดงอาการ FMDV จะอยู่กระจายทั่วไปในเลือดและอวัยวะต่าง ๆ การติดต่อทางสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อมกับสิ่งคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำนม น้ำเชื้อ หรือสิ่งขับถ่ายต่างๆ  เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ

                ในสัตว์ที่หายจากการเจ็บป่วย จะตรวจพบเชื้อในลำคอ (softtissue of throat) ได้นาน 9 เดือน ถึง 2 ปี ในโค ส่วนในแพะแกะ 9 สัปดาห์ จนถึง 9-11  เดือน แต่ในสุกรจะพบเชื้อ FMDV ในลำคอเพียงช่วงที่แสดงอาการเท่านั้น  ไม่มีรายงานจากการทดลองว่า มีการติดต่อจากสัตว์กลุ่มนี้  เข้าใจว่าระดับเชื้อที่มีอยู่  เพียงพอเพื่อการคงอยู่ของเชื้อเท่านั้น (viral maintenance)

ไวรัสสามารถอาศัยอยู่ได้ใน เลือดแห้ง (dried blood) ซาก  (carcasses)  กองอุจจาระ กองหญ้า กองฟาง ดิน ขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ   เลือดแข็งในซากสุกรที่เก็บไว้ที่ £ 4 องศาเซลเซียส จะมีชีวิตได้ 2 เดือน ซากโคที่แช่แข็งอย่างรวดเร็ว (Quick-freezing of the fresh meat) อุณหภูมิ £ -20 องศาเซลเซียส ไวรัสจะมีชีวิตอยู่ได้ 6 เดือน ซากที่แช่เย็นที่ 4 องศาเซลเซียส FMDV จะมีชีวิตอยู่ได้นาน 36 ชั่วโมง เนื่องจาก pH ในกล้ามเนื้อลดลงถึง pH 5.3 FMDV จะถูก inactivate อย่างรวดเร็ว และใน frozen semen FMDV มีชีวิตอยู่ได้นานอย่างน้อย 1 เดือน

 

การติดต่อของโรค  (Route of  Transmission)          

โรคปากและเท้าเปื่อยมีช่องทางการติดต่อของโรคได้หลายช่องทาง โดยมีการติดต่อกันระหว่างฝูง และระหว่างประเทศ  ในระดับตัวการติดต่อส่วนมากจะติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ (Respiratory aerosols) โดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป และจากการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างสัตว์ป่วยและสัตว์ปกติหรือแม้กระทั่งจากคน พบว่าเมื่อคนหายใจเอา FMDV จากสัตว์ที่ติดเชื้อ  ไวรัสสามารถอาศัยอยู่ได้ในลำคอได้นาน 24ชม. และในระหว่างนั้นสามารถถ่ายทอดเชื้อ FMDV ไปสู่คนอื่นหรือสัตว์ได้ หรือจากคนรีดนมที่สัมผัสกับวิการบริเวณ  Teat or udder หรือเครื่องรีดนม โดยตัวเชื้อสามารถอยู่ที่บริเวณเนื้อเยื่อเต้านมได้ 3-7 สัปดาห์

                จากการกิน สัตว์สามารถติดโรคได้จากการที่อาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อ  หรือจากน้ำนมของสัตว์ป่วย

                จากการผสม ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อในน้ำเชื้อ (semen)  โดยพ่อโคอาจได้รับเชื้อก่อนที่จะแสดงอาการและมีโอกาสที่จะแพร่ผ่านทางการผสมเทียม (AI) ได้จากน้ำเชื้อของพ่อโคตัวที่เป็นโรค

                โรคติดต่อจากอิมมูน แครีเออร์ สัตว์ที่หายป่วยจากโรคนี้อาจเป็นตัวแพร่เชื้อได้นานถึง 1 ปี

                เชื้อไวรัสอาจติดไปกับฝุ่นละออง และถูกลมพัดไปติดต่อสัตว์ในต่างท้องที่ได้ การระบาดของโรคไปตามลม  อาจเกิดขึ้นได้ในระยะทางไกลถึง 256 กม. (156 ไมล์) มีการรายงานว่า การแพร่ระบาดโดยลมพัดพาไวรัส  จากตอนเหนือของเยอรมันเข้าสู่เดนมาร์ก  เดนมาร์กเข้าสู่สวีเดน  และจากฝรั่งเศสเข้าสู่เกาะอังกฤษทางตอนใต้

                สัตว์ป่าบางชนิดเป็นตัวสะสมโรคและนำมาสู่สัตว์เลี้ยง เช่น กวาง สุกรป่า เป็นต้น นกเป็นพาหะสำคัญในการแพร่โรค  โดยเชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ในทางเดินอาหารของนก  รวมทั้งเห็บอาจจะเป็นตัวสะสมโรคนี้

สัตว์ที่เป็นโรคนี้ได้ (Host range)

                1.  ได้แก่สัตว์กีบคู่ต่าง ๆ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ กวาง เป็นต้น

                2.  สุนัข แมว กระต่าย หนู ไก่ จะไม่ susceptible ต่อโรคนี้ภายใต้สภาวะธรรมชาติ แต่อาจติดได้จากการทดลอง

                3.  สัตว์ปีก เช่น ไก่ ทำให้ติดโรคได้โดยการทดลองฉีดเชื้อ

                4.  คน ไม่ susceptible ต่อโรคนี้ ดังนั้นโรคนี้จึงไม่น่าวิตกในสัตวแพทยสาธารณสุข

                5.  สัตว์ป่า เช่น  Bison, elk, antelope, hedgehog, armadillos, nutria, capybara  และช้าง  จะเป็นตัวกักเก็บโรคที่สำคัญของโรคนี้ ยกเว้นควายป่าแอฟริกาจะเป็นแหล่งเชื้อธรรมชาติของ SAT  และเป็นตัวแพร่โรคไปสู่ โค กระบือ ในแอฟริกาใต้

โคและกระบือ จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ติดโรคได้ไวและง่ายกว่า (animal at risk)  แพะ แกะ สุกร เนื่องจากใช้ปริมาณไวรัสที่น้อยกว่า และปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าไป หลังจากสัตว์ที่เริ่มมีการติดเชื้อจากช่องทางใดช่องทางหนึ่งก็ตาม  วิธีแรกที่จะมีการแพร่กระจายของเชื้อ  คือการผ่านทางการหายใจ  ส่วนทางอื่นๆ ที่สำคัญก็คือ การสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม  ในกรณีที่มีการระบาดของโรคขึ้น บทบาทของโฮสต์ 3 ชนิดแรกจะแตกต่างกันคือ

ในแกะและแพะ  จะเป็น maintenance host เมื่อมีการติดเชื้อ  FMDV โรคจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เพราะว่า อาการและวิการที่แสดงออกจะน้อยมาก จนแทบสังเกตไม่เห็น และในช่วงนี้เอง สัตว์ป่วยจะเริ่มเป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสออกมา

ในสุกร  จะเป็น amplifier host กล่าวคือจะเป็นตัวแพร่เชื้อที่รวดเร็วมาก  จำนวนเชื้อที่ผลิตจะมากถึง 30-100เท่าที่พบในแกะและโค โดยสุกรที่ติดเชื้อจะสามารถผลิตได้ถึง  1 ล้าน  infectious dose  ต่อวัน

ในโค จะเป็น  indicator host โดยเมื่อมีการได้รับเชื้อ  FMDV  อาการและวิการจะแสดงออกมาอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากกว่าใน สุกร แกะ และแพะ  ถ้าหากว่าโค แกะ สุกร ได้รับการสัมผัสเชื้อพร้อมกัน โคจะเป็นตัวที่แสดงอาการป่วยก่อน

 

อาการของโรค

ระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อยประมาณ 2-8 วัน สัตว์จะมีอาการ ไข้ ซึม เบื่ออาหาร เกิดเม็ดตุ่มใส ที่เยื่อบุภายในช่องปาก หรือลิ้น หรือเหงือก หลังจากนั้นตุ่มจะแตก และเกิดการลอกของเนื้อเยื่อ ทำให้สัตว์เจ็บปาก ไม่กินอาหาร น้ำลายไหลยืดเป็นฟอง

ระยะสอง เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต และกระจายไปทั่วร่างกาย ผิวหนังที่เท้าจะบวมเต่ง มีน้ำเหลืองขังอยู่ภายใน แล้วแตกออกเป็นแผล มักพบบริเวณไรกีบหรือซอกกีบ ในรายที่เป็นมากกีบอาจหลุดได้

อัตราการป่วย ในฝูงสัตว์ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน 80 - 100 เปอร์เซ็นต์

อัตราการตายในฝูงสัตว์ที่ป่วย สัตว์ใหญ่ 1 - 4 เปอร์เซ็นต์

ในโคนม อัตราการให้นมจะลดลง และจะหยุดให้นมในที่สุด

ในสัตว์ที่ท้อง อาจทำให้เกิดการแท้ง และมีปัญหาการผสมไม่ติด

สำหรับในโคเนื้อ และสุกร น้ำหนักจะลด ซึ่งจะทำให้สูญเสีย ทั้งเงินและเวลาในการเลี้ยง

การตรวจวินิจฉัย

การสังเกตจากอาการของสัตว์ป่วย เช่น น้ำลายไหลยืด ขาเจ็บ ซึ่งเมื่อเปิดปากตรวจพบมีตุ่มใสหรือแผลบริเวณ ลิ้น เหงือก เยื่อบุภายในช่องปาก และแผลบริเวณซอกกีบ หรือไรกีบ ในบางรายจะพบมีการลอกของกีบด้วย แต่อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยทางคลินิกนี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยยืนยันจากห้องปฏิบัติการด้วย

การตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากตุ่มใส หรือเนื้อเยื่อของตุ่มใสที่แตกออกทั้งในบริเวณ ลิ้น เหงือก เยื่อบุภายในช่องปาก บริเวณกีบ ใส่ขวดที่สะอาดมี 50% กลีเซอรีนบัฟเฟอร์ ผสมอยู่ นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมทั้งกรอกประวัติสัตว์ป่วยโดยละเอียด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการโดยวิธีELISA Test เพื่อทำการจำแนกชนิดของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD Typing) ว่าสัตว์ป่วยด้วยเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดใดหรือทำการแยกเชื้อไวรัส

การรักษา

เนื่องจากโรคปากและเท้าเปื่อยมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสจึงยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคนี้ หลักของการรักษาโรคปากและเท้าเปื่อย คือ การรักษาตามอาการและการป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน

การรักษาตามอาการ ได้แก่ การรักษาด้วยวิธีต่างๆ อันมีวัตถุประสงค์จะให้แผลที่เกิดขึ้นที่ปากหรือกีบหายได้เร็วที่สุด ได้แก่ การใช้ยาประเภท Gentian violet หรือใช้เกลือป่นทาแผลทั้งที่จมูก ปาก เหงือก หรือกีบ เป็นต้น

การรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน การติดเชื้อแทรกซ้อนของแผลที่เกิดขึ้นจากโรคปากและเท้าเปื่อยอาจเกิดจาก แมลงวันมาวางไข่ที่แผล และฟักตัวเป็นหนอนทำให้แผลมีการอักเสบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะแผลที่กีบซึ่งป้องกันได้โดยการล้างแผลให้สะอาด และใช้ยาสำหรับป้องกันการวางไข่ของแมลงวัน ทั้งที่อยู่ในรูปที่ผสมกับวาสลีน หรือ เป็นยาผง สำหรับพ่นกันแมลงและรักษาแผล นอกจากนี้อาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำการป้องกันได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะให้กับสัตว์ป่วย

การควบคุมและป้องกันโรค

ถึงแม้อัตราการตายของโรคปากและเท้าเปื่อยจะต่ำ แต่เนื่องจากเป็นโรคที่มีการระบาดไปได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้อัตราการป่วยของโรคค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์ที่ไม่มีภูมิคุ้มโรค ส่งผลให้รัฐสูญเสียงบประมาณอย่างมากในการรักษา และการควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดออกไปและที่สำคัญ คือ สูญเสียโอกาสในการส่งออกปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศดังที่กล่าวมาแล้ว

การดำเนินงานเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้

การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 
              วัตถุประสงค์หลัก คือ ควบคุมโรคได้โดยเร็วก่อนที่โรคจะแพร่ระบาดออกไป โดยเฉพาะเมื่อสัตว์ป่วยแสดงอาการไม่รุนแรงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่ามีการเกิดโรค หรือกว่าจะทราบโรคอาจแพร่กระจายไปในวงกว้างแล้ว 
การดำเนินงานตามกิจกรรมเฝ้าระวังโรคได้แก่ การออกปฏิบัติงานตรวจเยี่ยม และดูแลสุขภาพสัตว์ในพื้นที่เพื่อหาข่าวสารการป่วยของสัตว์ด้วยโรคปากและเท้าเปื่อยของสัตว์ในพื้นที่รับผิดชอบโดยเฉพาะพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการเฝ้าระวังจากข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลรายงานการเกิดโรคในพื้นที่ต่างๆ หรือข้อมูลรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคปากและเท้าเปื่อยโดยการฉีดวัคซีน 
                การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ควรฉีดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะสามารถลดโอกาสของการเกิดโรคภายในฝูงสัตว์ได้ กรมปศุสัตว์ได้จัดบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยโดยไม่คิดมูลค่า ให้แก่เกษตรกรโดยจัดเป็นช่วงในการรณรงค์ การฉีดวัคซีนขึ้น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม

รอบที่ 2 ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

การดำเนินงานฉีดวัคซีนให้มีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

                 ฉีดวัคซีนตามโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอตามกำหนดเวลา เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคได้ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 21 วัน หลังการฉีดวัคซีน จึงจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ถึงระดับที่คุ้มโรคได้ แต่ถ้าเป็นลูกสัตว์ หรือสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครั้งแรก จะต้องฉีดวัคซีนครั้งแรก จะต้องฉีดวัคซีนครั้งที่สองซ้ำ หลังจากได้รับครั้งแรกประมาณ 1 เดือน จึงจะกระตุ้นให้คุ้มโรคสูงพอที่จะคุ้มโรคได้

ต้องรู้วิธีการในการเก็บรักษาและการใช้วัคซีนนั้นอย่างถูกต้อง โดยป้องกันไม่ให้ถูก แสงแดดและเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 4 ฐC

ภูมิคุ้มกันฝูงสัตว์ (Herd Immunity) หมายถึงสัดส่วนของสัตว์ในฝูงที่มีภูมิคุ้มกันใน ระดับที่คุ้มโรคได้ซึ่งจะต้องอยู่ในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะสามารถป้องกันการเกิดและการแพร่ระบาดของโรคได้ ดังนั้น ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับวัคซีนมากระดับภูมิคุ้มกันโรคในฝูงสัตว์ก็จะสูงตามไปด้วย

เมื่อได้รับเชื้อสัตว์จะแสดงอาการเจ็บป่วยหรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันโรค ที่สัตว์มีอยู่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับความรุนแรง และปริมาณของเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายสัตว์ด้วย

ร่างกายสัตว์ต้องมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ได้รับอาหารที่มีคุณภาพด้วยจึงจะสามารถ ตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เต็มที่

Source : โรคปากและเท้าเปื่อย

www.mastervet.net